เมนู

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตต-
ปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
5. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
อาสวธรรม ที่เกิดภายหลัง และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[356] 1. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย

คือ กามาสวะะ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย.
2. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
อาสวธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
อาสวธรรมทั้งหลายที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
3. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรม
ที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ กามาสวะ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ เเก่อวิชชาสวะ แก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ ตลอดถึง
อสัญญสัตว์.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่
เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น อาสวธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 อาสวธรรม และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
พึงผูกจักรนัย
7. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
กามาสวะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชา-
สวะ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย

กามาสวะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ, แก่อวิชชาสวะ
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย
8. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 4 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ,
ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาร และรวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดพร้อมกัน และอาสวธรรมทั้งหลาย
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
อาสวธรรม ที่เกิดพร้อมกัน และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกัน และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
อาสวธรรมทั้งหลายที่เกิดภายหลัง และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

9. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อาสวธรรม และกามาสวะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
พึงผูกจักรนัย
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
กามาสวะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[357] ในเหตุปัจจัย มี 7 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 9 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 9 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ ใน
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 3 วาระ